บทความที่ได้รับความนิยม

วันเสาร์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2559

การพัฒนาชุดกิจกรรม เรื่อง สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม วิชาวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาล ๑ (เอ็งเสียงสามัคคี) อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

ชื่อเรื่อง   การพัฒนาชุดกิจกรรม  เรื่อง  สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม  วิชาวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  6  โรงเรียนเทศบาล  ๑  (เอ็งเสียงสามัคคี)  อำเภอหาดใหญ่  จังหวัดสงขลา
ผู้วิจัย             นางสาวดวงเดือน  ไชยพูล
ปีที่วิจัย                  ปีการศึกษา  2557
บทคัดย่อ
          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรม  เรื่อง  สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม  วิชาวิทยาศาสตร์  ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  6  ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์  80/80  เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ก่อนและหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรม  รวมทั้งศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดกิจกรรม  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้  เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  6/3  ภาคเรียนที่  1  ปีการศึกษา  2557  โรงเรียนเทศบาล ๑ (เอ็งเสียงสามัคคี)  อำเภอหาดใหญ่  จังหวัดสงขลา  จำนวน  43  คน   ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive  Sampling)  ตัวแปรที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า  ตัวแปรต้น  ได้แก่  ชุดกิจกรรม  ตัวแปรตาม  ได้แก่  ประสิทธิภาพ   ผลสัมฤทธิ์  และความพึงพอใจ  เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย  ชุดกิจกรรม  เรื่อง  สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม  วิชาวิทยาศาสตร์  ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  6  แผนการจัดการเรียนรู้  แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนต่อชุดกิจกรรม  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่  ค่าเฉลี่ย   ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน  (S.D.)   สถิติทดสอบสมมุติฐานโดยการทดสอบค่าที  (t-test)  สถิติที่ใช้หาคุณภาพเครื่องมือ  ได้แก่ การหาค่าความสอดคล้องตามสูตร  IOC  การหาค่าความเที่ยงแบบทดสอบตามสูตร  KR-20 หาค่าความเที่ยงของแบบสอบถามตามสูตรอัลฟา  และสถิติหาค่าประสิทธิภาพ  (E1/E2)  ของชุดกิจกรรม
             ผลการวิจัยพบว่า 
             1.  ประสิทธิภาพของ  ชุดกิจกรรม  เรื่อง  สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม  วิชาวิทยาศาสตร์  ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  6  มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ  82.97/83.72  ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด  80/80  
             2.  นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  .05  
          3.  นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการใช้ชุดกิจกรรมในระดับมากที่สุด โดยมีระดับความพึงพอใจเฉลี่ยเท่ากับ  4.55  

วันพฤหัสบดีที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2559

การพัฒนาบทเรียนบนเว็บ เรื่อง การเขียนโปรแกรมขั้นพื้นฐานด้วยภาษา HTML วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ 3 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

ชื่อเรื่อง        การพัฒนาบทเรียนบนเว็บ  เรื่อง  การเขียนโปรแกรมขั้นพื้นฐานด้วยภาษา  HTML  วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ  3  ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  3  โรงเรียนเทศบาล  ๑  (เอ็งเสียงสามัคคี)  อำเภอหาดใหญ่  จังหวัดสงขลา
ผู้วิจัย          นายมนิต  นิลโมจน์
ปีที่วิจัย        ปีการศึกษา  2557
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาบทเรียนบนเว็บ  เรื่อง  การเขียนโปรแกรมขั้นพื้นฐานด้วยภาษา  HTML  ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  3  ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน  70/70  เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์และทักษะการเขียนโปรแกรมก่อนและหลังเรียนด้วยบทเรียนบนเว็บ  รวมทั้งศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  3  ที่มีต่อบทเรียนบนเว็บ  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  3/1  จำนวน  40  คน  ภาคเรียนที่  1  ปีการศึกษา  2557  โรงเรียนเทศบาล  ๑  (เอ็งเสียงสามัคคี)  อำเภอหาดใหญ่  จังหวัดสงขลา  ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่ายโดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยการสุ่ม  เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย  บทเรียนบนเว็บ  เรื่อง  การเขียนโปรแกรมขั้นพื้นฐานด้วยภาษา HTML  ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  3  แผนการจัดการเรียนรู้  แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์  แบบวัดทักษะการเขียนโปรแกรม  และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนต่อบทเรียนบนเว็บ  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่  ค่าเฉลี่ย   ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน  (S.D.)   สถิติทดสอบสมมุติฐานโดยการทดสอบค่าที  (t-test)  สถิติที่ให้หาคุณภาพเครื่องมือ  ได้แก่ การหาค่าความสอดคล้องตามสูตร  IOC  การหาค่าความเที่ยงแบบทดสอบตามสูตร  KR-20 หาค่าความเชื่อมั่นแบบสอบถามตามสูตรอัลฟา และสถิติหาค่าประสิทธิภาพ  (E1/E2)  ของบทเรียนบนเว็บ
1.  การพัฒนาบทเรียนบนเว็บพบว่า  ผู้เชี่ยวชาญเห็นว่าบทเรียนบนเว็บในภาพรวมมีความสอดคล้อง  โดยมีค่าเท่ากับ  0.88  และมีค่าประสิทธิภาพ  (E1/E2)  เท่ากับ  73.15/72.25  ซึ่งมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน  70/70
2.  นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้บทเรียนบนเว็บหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  .05
3.  นักเรียนมีทักษะการเขียนโปรแกรม โดยใช้บทเรียนบนเว็บ  หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  .05
4.  นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการใช้บทเรียนบนเว็บในระดับมากที่สุด  มีระดับความพึงพอใจเฉลี่ยเท่ากับ  4.55