บทความที่ได้รับความนิยม

วันศุกร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ผลการใช้วิธีสอนแบบเอริกา (Erica Model) ร่วมกับเทคนิคการตั้งคำถามของบลูมและเทคนิคผังกราฟิก โดยใช้นิทานพื้นบ้านอำเภอหาดใหญ่ ที่มีต่อความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจภาษาอังกฤษและความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1



บทคัดย่อ
ชื่อผลงาน   :  ผลการใช้วิธีสอนแบบเอริกา (Erica Model)  ร่วมกับเทคนิคการตั้งคำถามของบลูม
                       และเทคนิคผังกราฟิก โดยใช้นิทานพื้นบ้านอำเภอหาดใหญ่ ที่มีต่อความสามารถ   
                      ในการอ่านเพื่อความเข้าใจภาษาอังกฤษและความสามารถในการคิดวิเคราะห์  
                       ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ชื่อ-สกุลผู้ทำผลงาน : นางสุภิญญา  ยีหมัดอะหลี
ตำแหน่ง :    ครู วิทยฐานะ ชำนาญการ โรงเรียนเทศบาล ๑ (เอ็งเสียงสามัคคี)

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจภาษาอังกฤษก่อนและหลังเรียน โดยใช้วิธีสอนแบบเอริกา (Erica Model)  ร่วมกับเทคนิคตั้งคำถามของบลูมและเทคนิคผังกราฟิก  โดยใช้นิทานพื้นบ้านอำเภอหาดใหญ่ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1  2) เปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ก่อนและหลังเรียน โดยใช้วิธีสอนแบบเอริกา (Erica Model)  ร่วมกับเทคนิคตั้งคำถามของบลูมและเทคนิคผังกราฟิก โดยใช้นิทานพื้นบ้านอำเภอหาดใหญ่  ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1   3)   ศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อวิธีสอนแบบ เอริกา (Erica Model)  ร่วมกับเทคนิคตั้งคำถามของบลูมและเทคนิคผังกราฟิก โดยใช้นิทานพื้นบ้านอำเภอหาดใหญ่ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ประชากรที่ใช้ในครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1โรงเรียนเทศบาล 1(เอ็งเสียงสามัคคี)  ทั้งหมด 283 คน ภาคเรียนที่ 2
 ปีการศึกษา 2555   กลุ่มตัวอย่างที่ใช้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1โรงเรียนเทศบาล 1  (เอ็งเสียงสามัคคี) จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวน 40 คนโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling)   เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย  1) แผนจัดการการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษ โดยใช้ขั้นตอนของวิธีสอนแบบเอริกา (Erica Model)  ร่วมกับเทคนิคตั้งคำถามของบลูมและเทคนิคผังกราฟิก โดยใช้นิทานพื้นบ้านอำเภอหาดใหญ่   จำนวน 7 แผน     2)  แบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจภาษาอังกฤษ แบบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 2 ฉบับ ฉบับละ 30 ข้อ     สำหรับทดสอบก่อนและหลังการใช้วิธีสอนแบบเอริกา     (Erica Model)     ร่วมกับเทคนิคการตั้งคำถามของบลูมและเทคนิคผังกราฟิก    โดยใช้นิทานพื้นบ้านอำเภอหาดใหญ่        3)    แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ แบบปรนัย 4 ตัวเลือก  จำนวน 2 ฉบับ  ฉบับละ 30 ข้อ สำหรับทดสอบก่อนและหลังการใช้วิธีสอนแบบ เอริกา (Erica Model)  ร่วมกับเทคนิคตั้งคำถามของบลูมและเทคนิคผังกราฟิก โดยใช้นิทานพื้นบ้านอำเภอหาดใหญ่    4)  แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน ที่มีต่อวิธีสอนแบบเอริกา (Erica Model)  ร่วมกับเทคนิคตั้งคำถามของบลูมและเทคนิคผังกราฟิก โดยใช้นิทานพื้นบ้านอำเภอหาดใหญ่  จำนวน 15 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่  ค่าเฉลี่ย    ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  และ t-test for Dependent Samples
               
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1.  ความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจภาษาอังกฤษ โดยใช้วิธีสอนแบบ เอริกา (Erica  Model)  ร่วมกับเทคนิคตั้งคำถามของบลูมและเทคนิคผังกราฟิก โดยใช้นิทานพื้นบ้านอำเภอหาดใหญ่  หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
2.  ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ โดยใช้วิธีสอนแบบ เอริกา (Erica Model)  ร่วมกับเทคนิคตั้งคำถามของบลูมและเทคนิคผังกราฟิก โดยใช้นิทานพื้นบ้านอำเภอหาดใหญ่ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3.  ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อวิธีสอนแบบ  เอริกา (Erica Model)  ร่วมกับเทคนิคตั้งคำถามของบลูมและเทคนิคผังกราฟิก โดยใช้นิทานพื้นบ้านอำเภอหาดใหญ่ อยู่ในระดับมาก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น