บทความที่ได้รับความนิยม

วันพฤหัสบดีที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2556

รายงานผลการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์โดยใช้การเล่นพื้นบ้านไทยของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาล ๑ (เอ็งเสียงสามัคคี) อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

ชื่อเรื่อง                            รายงานผลการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์โดยใช้การเล่นพื้นบ้านไทยของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาล ๑                  (เอ็งเสียงสามัคคี)  อำเภอหาดใหญ่  จังหวัดสงขลา
ผู้วิจัย                                   นางกัญธิรา มาสชรัตน์
ตำแหน่ง                               ครู  วิทยฐานะครูชำนาญการ
ปีการศึกษา                           2555

บทคัดย่อ
                               
                          รายงานผลการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์โดยใช้การเล่นพื้นบ้านไทย                    ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาล ๑ (เอ็งเสียงสามัคคี) อำเภอหาดใหญ่  จังหวัดสงขลา มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์โดยใช้การเล่นพื้นบ้านไทยของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาล ๑ (เอ็งเสียงสามัคคี) อำเภอหาดใหญ่  จังหวัดสงขลา           2)เพื่อเปรียบเทียบพัฒนาการทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์โดยใช้การเล่นพื้นบ้านไทยของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาล ๑ (เอ็งเสียงสามัคคี) อำเภอหาดใหญ่  จังหวัดสงขลา ก่อนและหลังจัดประสบการณ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้  ได้แก่  เด็กปฐมวัยชั้นปีที่ 2  อายุระหว่าง 5-6 ปี โรงเรียนเทศบาล ๑ (เอ็งเสียงสามัคคี)อำเภอหาดใหญ่  จังหวัดสงขลา  ภาคเรียนที่ 1  ปีการศึกษา 2555 จำนวน 1 ห้องเรียน ได้แก่ ห้องอนุบาล 2/3 จำนวน 28 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) (กัลยา  วานิชย์บัญชา, 2550:24)
             ตัวแปรที่ศึกษา  ตัวแปรต้น ได้แก่  การจัดประสบการณ์โดยใช้การเล่นพื้นบ้านไทย    ตัวแปรตาม ได้แก่ ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ใน 6 ด้านของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาล ๑ (เอ็งเสียงสามัคคี)  ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ประกอบด้วย 1) ทักษะ             การสังเกตความเหมือนความต่าง  2) ทักษะการเปรียบเทียบขนาดรูปร่างและปริมาณ (ใหญ่ - เล็ก มาก - น้อย)  3) ทักษะการเรียงลำดับ ความสูง - เตี้ย  ความยาว - สั้น   4)ทักษะการบอกตำแหน่ง  บน-ล่าง  ใน- นอก  ซ้าย -ขวา  หน้า- หลัง  ตรงกลาง 5) ทักษะในการเปรียบเทียบจำนวน เท่ากัน- ไม่เท่ากัน มากกว่า น้อยกว่า  6)ทักษะการนับจำนวน1 - 20 และการรู้ค่า จำนวน 1 - 10                  และเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย  ได้แก่  การเล่นพื้นบ้านไทย จำนวน 15 ชนิด   แผนการจัดประสบการณ์โดยใช้การเล่นพื้นบ้านไทย  45 แผน และแบบประเมินพัฒนาการทักษะพื้นฐาน          ทางคณิตศาสตร์
         
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
                  1. ผลการสังเกตพฤติกรรมด้านทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์โดยใช้การเล่น           พื้นบ้านไทย  พบว่า
                  1.1  ทักษะด้านการสังเกตความเหมือน  ความต่าง  มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 9.57 คิดเป็นร้อยละ 79.76
                 1.2  ทักษะด้านการเปรียบเทียบขนาดรูปร่าง  ปริมาณใหญ่ - เล็ก  มาก - น้อย  มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ  9.50  คิดเป็นร้อยละ 79.16
                  1.3  ทักษะด้านการเรียงลำดับ ความสูง - เตี้ย  ความยาว - สั้น มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ  9.46  คิดเป็นร้อยละ 78.86
                  1.4  ทักษะการบอกตำแหน่ง  บน - ล่าง  ใน - นอก  ซ้าย - ขวา  หน้า-  หลัง  ตรงกลาง                  มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 9.53 คิดเป็นร้อยละ 79.46
                  1.5  ทักษะด้านการเปรียบเทียบจำนวน เท่ากัน - ไม่เท่ากัน  มากกว่า - น้อยกว่า  มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 9.89 คิดเป็นร้อยละ 82.44
                 1.6 ทักษะด้านการนับจำนวน  1-20  และ การรู้ค่าจำนวน 1-10  มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 9.85  คิดเป็นร้อยละ 82.14  และรวมทุกด้านคะแนนเฉลี่ยของนักเรียนทุกคนเท่ากับ 57.82 คิดเป็น                ร้อยละ 80.30
                      2. เด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2  มีพัฒนาการทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สูงขึ้น โดยมีค่าคะแนนเฉลี่ยหลังจัดประสบการณ์ สูงกว่าก่อนการจัดประสบการณ์ด้วยการเล่นพื้นบ้านไทย                    และแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานข้อที่ 1

                  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น