บทความที่ได้รับความนิยม

วันพุธที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2556

รายงานผลการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความสามารถในการคิดวิเคราะห์และความคงทนในการเรียนรู้ วิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนซิปปาร่วมกับเทคนิคผังกราฟิกของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาล ๑ (เอ็งเสียงสามัคคี)

บทคัดย่อ
ชื่อผลงานทางวิชาการ  : รายงานผลการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความสามารถในการคิดวิเคราะห์และความคงทนในการเรียนรู้ วิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนซิปปาร่วมกับเทคนิคผังกราฟิกของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาล ๑ (เอ็งเสียงสามัคคี)
ชื่อ-สกุล                    นายกันณพงศ์  เดชนวล
ตำแหน่ง                   ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการ  โรงเรียนเทศบาล ๑ (เอ็งเสียงสามัคคี) เทศบาลนครหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์  (1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนซิปปาร่วมกับเทคนิคผังกราฟิก  (2) เพื่อเปรียบเทียบความ สามารถในการคิดวิเคราะห์วิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนซิปปาร่วมกับเทคนิคผังกราฟิก  (3) เพื่อศึกษาความคงทนในการเรียนรู้วิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนซิปปาร่วมกับเทคนิคผังกราฟิก  (4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนซิปปาร่วมกับเทคนิคผังกราฟิก
ประชากรที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาล ๑    (เอ็งเสียงสามัคคี) เทศบาลนครหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555 จำนวน 5 ห้องเรียน รวม 197 คน
กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 โรงเรียนเทศบาล ๑ (เอ็งเสียงสามัคคี) เทศบาลนครหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555 จำนวน 1 ห้องเรียน รวม 40 คน โดยใช้วิธีสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling)
ดำเนินการวิจัยโดยใช้กลุ่มตัวอย่างเดียว วัดผล 4 ครั้ง คือ ก่อนการทดลอง หลังการทดลองทันที หลังการทดลองเมื่อผ่านไป 2 สัปดาห์ และหลังการทดลองเมื่อผ่านไป 4 สัปดาห์  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย  (1) แผนการจัดการเรียนรู้วิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เรื่อง เศรษฐศาสตร์กับชีวิต โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนซิปปาร่วมกับเทคนิคผังกราฟิกจำนวน 10 แผน (2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบปรนัย 4 ตัวเลือก สำหรับทดสอบก่อนและหลังการใช้รูปแบบการเรียนการสอนซิปปาร่วมกับเทคนิคผังกราฟิก  (3) แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ แบบปรนัย 4 ตัวเลือก สำหรับทดสอบก่อนและหลังการใช้รูปแบบการเรียนการสอนซิปปาร่วมกับเทคนิคผังกราฟิก  (4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการเรียนการสอนซิปปาร่วมกับเทคนิคผังกราฟิก จำนวน 20 ข้อ  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test Dependent samples
         
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ด้วยรูปแบบการเรียนการสอนซิปปาร่วมกับเทคนิคผังกราฟิก หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2. ความสามารถในการคิดวิเคราะห์วิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ด้วยรูปแบบการเรียนการสอนซิปปาร่วมกับเทคนิคผังกราฟิก หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอน ซิปปาร่วมกับเทคนิคผังกราฟิก มีความคงทนในการเรียนรู้

4. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนซิปปาร่วมกับเทคนิคผังกราฟิก อยู่ในระดับมากที่สุด

วันศุกร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ผลการใช้วิธีสอนแบบเอริกา (Erica Model) ร่วมกับเทคนิคการตั้งคำถามของบลูมและเทคนิคผังกราฟิก โดยใช้นิทานพื้นบ้านอำเภอหาดใหญ่ ที่มีต่อความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจภาษาอังกฤษและความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1



บทคัดย่อ
ชื่อผลงาน   :  ผลการใช้วิธีสอนแบบเอริกา (Erica Model)  ร่วมกับเทคนิคการตั้งคำถามของบลูม
                       และเทคนิคผังกราฟิก โดยใช้นิทานพื้นบ้านอำเภอหาดใหญ่ ที่มีต่อความสามารถ   
                      ในการอ่านเพื่อความเข้าใจภาษาอังกฤษและความสามารถในการคิดวิเคราะห์  
                       ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ชื่อ-สกุลผู้ทำผลงาน : นางสุภิญญา  ยีหมัดอะหลี
ตำแหน่ง :    ครู วิทยฐานะ ชำนาญการ โรงเรียนเทศบาล ๑ (เอ็งเสียงสามัคคี)

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจภาษาอังกฤษก่อนและหลังเรียน โดยใช้วิธีสอนแบบเอริกา (Erica Model)  ร่วมกับเทคนิคตั้งคำถามของบลูมและเทคนิคผังกราฟิก  โดยใช้นิทานพื้นบ้านอำเภอหาดใหญ่ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1  2) เปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ก่อนและหลังเรียน โดยใช้วิธีสอนแบบเอริกา (Erica Model)  ร่วมกับเทคนิคตั้งคำถามของบลูมและเทคนิคผังกราฟิก โดยใช้นิทานพื้นบ้านอำเภอหาดใหญ่  ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1   3)   ศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อวิธีสอนแบบ เอริกา (Erica Model)  ร่วมกับเทคนิคตั้งคำถามของบลูมและเทคนิคผังกราฟิก โดยใช้นิทานพื้นบ้านอำเภอหาดใหญ่ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ประชากรที่ใช้ในครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1โรงเรียนเทศบาล 1(เอ็งเสียงสามัคคี)  ทั้งหมด 283 คน ภาคเรียนที่ 2
 ปีการศึกษา 2555   กลุ่มตัวอย่างที่ใช้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1โรงเรียนเทศบาล 1  (เอ็งเสียงสามัคคี) จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวน 40 คนโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling)   เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย  1) แผนจัดการการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษ โดยใช้ขั้นตอนของวิธีสอนแบบเอริกา (Erica Model)  ร่วมกับเทคนิคตั้งคำถามของบลูมและเทคนิคผังกราฟิก โดยใช้นิทานพื้นบ้านอำเภอหาดใหญ่   จำนวน 7 แผน     2)  แบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจภาษาอังกฤษ แบบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 2 ฉบับ ฉบับละ 30 ข้อ     สำหรับทดสอบก่อนและหลังการใช้วิธีสอนแบบเอริกา     (Erica Model)     ร่วมกับเทคนิคการตั้งคำถามของบลูมและเทคนิคผังกราฟิก    โดยใช้นิทานพื้นบ้านอำเภอหาดใหญ่        3)    แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ แบบปรนัย 4 ตัวเลือก  จำนวน 2 ฉบับ  ฉบับละ 30 ข้อ สำหรับทดสอบก่อนและหลังการใช้วิธีสอนแบบ เอริกา (Erica Model)  ร่วมกับเทคนิคตั้งคำถามของบลูมและเทคนิคผังกราฟิก โดยใช้นิทานพื้นบ้านอำเภอหาดใหญ่    4)  แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน ที่มีต่อวิธีสอนแบบเอริกา (Erica Model)  ร่วมกับเทคนิคตั้งคำถามของบลูมและเทคนิคผังกราฟิก โดยใช้นิทานพื้นบ้านอำเภอหาดใหญ่  จำนวน 15 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่  ค่าเฉลี่ย    ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  และ t-test for Dependent Samples
               
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1.  ความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจภาษาอังกฤษ โดยใช้วิธีสอนแบบ เอริกา (Erica  Model)  ร่วมกับเทคนิคตั้งคำถามของบลูมและเทคนิคผังกราฟิก โดยใช้นิทานพื้นบ้านอำเภอหาดใหญ่  หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
2.  ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ โดยใช้วิธีสอนแบบ เอริกา (Erica Model)  ร่วมกับเทคนิคตั้งคำถามของบลูมและเทคนิคผังกราฟิก โดยใช้นิทานพื้นบ้านอำเภอหาดใหญ่ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3.  ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อวิธีสอนแบบ  เอริกา (Erica Model)  ร่วมกับเทคนิคตั้งคำถามของบลูมและเทคนิคผังกราฟิก โดยใช้นิทานพื้นบ้านอำเภอหาดใหญ่ อยู่ในระดับมาก

วันพฤหัสบดีที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2556

รายงานผลการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์โดยใช้การเล่นพื้นบ้านไทยของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาล ๑ (เอ็งเสียงสามัคคี) อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

ชื่อเรื่อง                            รายงานผลการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์โดยใช้การเล่นพื้นบ้านไทยของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาล ๑                  (เอ็งเสียงสามัคคี)  อำเภอหาดใหญ่  จังหวัดสงขลา
ผู้วิจัย                                   นางกัญธิรา มาสชรัตน์
ตำแหน่ง                               ครู  วิทยฐานะครูชำนาญการ
ปีการศึกษา                           2555

บทคัดย่อ
                               
                          รายงานผลการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์โดยใช้การเล่นพื้นบ้านไทย                    ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาล ๑ (เอ็งเสียงสามัคคี) อำเภอหาดใหญ่  จังหวัดสงขลา มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์โดยใช้การเล่นพื้นบ้านไทยของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาล ๑ (เอ็งเสียงสามัคคี) อำเภอหาดใหญ่  จังหวัดสงขลา           2)เพื่อเปรียบเทียบพัฒนาการทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์โดยใช้การเล่นพื้นบ้านไทยของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาล ๑ (เอ็งเสียงสามัคคี) อำเภอหาดใหญ่  จังหวัดสงขลา ก่อนและหลังจัดประสบการณ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้  ได้แก่  เด็กปฐมวัยชั้นปีที่ 2  อายุระหว่าง 5-6 ปี โรงเรียนเทศบาล ๑ (เอ็งเสียงสามัคคี)อำเภอหาดใหญ่  จังหวัดสงขลา  ภาคเรียนที่ 1  ปีการศึกษา 2555 จำนวน 1 ห้องเรียน ได้แก่ ห้องอนุบาล 2/3 จำนวน 28 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) (กัลยา  วานิชย์บัญชา, 2550:24)
             ตัวแปรที่ศึกษา  ตัวแปรต้น ได้แก่  การจัดประสบการณ์โดยใช้การเล่นพื้นบ้านไทย    ตัวแปรตาม ได้แก่ ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ใน 6 ด้านของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาล ๑ (เอ็งเสียงสามัคคี)  ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ประกอบด้วย 1) ทักษะ             การสังเกตความเหมือนความต่าง  2) ทักษะการเปรียบเทียบขนาดรูปร่างและปริมาณ (ใหญ่ - เล็ก มาก - น้อย)  3) ทักษะการเรียงลำดับ ความสูง - เตี้ย  ความยาว - สั้น   4)ทักษะการบอกตำแหน่ง  บน-ล่าง  ใน- นอก  ซ้าย -ขวา  หน้า- หลัง  ตรงกลาง 5) ทักษะในการเปรียบเทียบจำนวน เท่ากัน- ไม่เท่ากัน มากกว่า น้อยกว่า  6)ทักษะการนับจำนวน1 - 20 และการรู้ค่า จำนวน 1 - 10                  และเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย  ได้แก่  การเล่นพื้นบ้านไทย จำนวน 15 ชนิด   แผนการจัดประสบการณ์โดยใช้การเล่นพื้นบ้านไทย  45 แผน และแบบประเมินพัฒนาการทักษะพื้นฐาน          ทางคณิตศาสตร์
         
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
                  1. ผลการสังเกตพฤติกรรมด้านทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์โดยใช้การเล่น           พื้นบ้านไทย  พบว่า
                  1.1  ทักษะด้านการสังเกตความเหมือน  ความต่าง  มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 9.57 คิดเป็นร้อยละ 79.76
                 1.2  ทักษะด้านการเปรียบเทียบขนาดรูปร่าง  ปริมาณใหญ่ - เล็ก  มาก - น้อย  มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ  9.50  คิดเป็นร้อยละ 79.16
                  1.3  ทักษะด้านการเรียงลำดับ ความสูง - เตี้ย  ความยาว - สั้น มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ  9.46  คิดเป็นร้อยละ 78.86
                  1.4  ทักษะการบอกตำแหน่ง  บน - ล่าง  ใน - นอก  ซ้าย - ขวา  หน้า-  หลัง  ตรงกลาง                  มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 9.53 คิดเป็นร้อยละ 79.46
                  1.5  ทักษะด้านการเปรียบเทียบจำนวน เท่ากัน - ไม่เท่ากัน  มากกว่า - น้อยกว่า  มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 9.89 คิดเป็นร้อยละ 82.44
                 1.6 ทักษะด้านการนับจำนวน  1-20  และ การรู้ค่าจำนวน 1-10  มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 9.85  คิดเป็นร้อยละ 82.14  และรวมทุกด้านคะแนนเฉลี่ยของนักเรียนทุกคนเท่ากับ 57.82 คิดเป็น                ร้อยละ 80.30
                      2. เด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2  มีพัฒนาการทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สูงขึ้น โดยมีค่าคะแนนเฉลี่ยหลังจัดประสบการณ์ สูงกว่าก่อนการจัดประสบการณ์ด้วยการเล่นพื้นบ้านไทย                    และแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานข้อที่ 1

                  

วันพุธที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

รายงานการพัฒนาชุดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาการใช้กล้ามเนื้อเล็ก ของเด็กอนุบาลชั้นปี่ที่ 2 โรงเรียนเทศบาล ๑ (เอ็งเสียงสามัคคี)


ชื่อเรื่อง                  รายงานการพัฒนาชุดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาการใช้กล้ามเนื้อเล็ก
 ของเด็กอนุบาลชั้นปี่ที่ 2 โรงเรียนเทศบาล ๑ (เอ็งเสียงสามัคคี)
ผู้วิจัย                  นางอริศรา  ทองมุณี  
ตำแหน่ง               ครู  วิทยฐานะ ครูชำนาญการ
ปีการศึกษา          2554
                                  
บทคัดย่อ

                            รายงานผลการพัฒนาชุดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาการใช้กล้ามเนื้อเล็กของเด็กอนุบาลชั้นปีที่ 2  โรงเรียนเทศบาล ๑ (เอ็งเสียงสามัคคี) อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและพัฒนาชุดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาการใช้กล้ามเนื้อเล็กของเด็กอนุบาลชั้นปีที่ 2 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 เพื่อเปรียบเทียบพัฒนาการการใช้กล้ามเนื้อเล็กของเด็กอนุบาลชั้นปีที่ 2 ก่อนและหลังการใช้ชุดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาการใช้กล้ามเนื้อเล็กของเด็กอนุบาลชั้นปีที่ 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ เด็กอนุบาลชั้นปีที่ 2 อายุระหว่าง 5 – 6 โรงเรียนเทศบาล ๑ (เอ็งเสียงสามัคคี) อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา  ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 จำนวน 1 ห้องเรียน ได้แก่ ห้องอนุบาล 2/2 จำนวน  31 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) (สิน พันธุ์พินิจ 2547:129)
ตัวแปรที่ศึกษา ตัวแปรต้นได้แก่ การจัดประสบการณ์โดยใช้ชุดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาการใช้กล้ามเนื้อเล็ก  ตัวแปรตาม  ได้แก่ การใช้กล้ามเนื้อเล็ก
                                เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่  ชุดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาการใช้กล้ามเนื้อเล็กจำนวน 12 ชุด แผนการจัดประสบการณ์โดยใช้ชุดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาการใช้กล้ามเนื้อเล็กจำนวน 36 กิจกรรม  และแบบทดสอบวัดพัฒนาการด้านการใช้กล้ามเนื้อเล็ก
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1.       ชุดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาการใช้กล้ามเนื้อเล็กของเด็กอนุบาล
ชั้นปีที่ 2  โรงเรียนเทศบาล ๑ (เอ็งเสียงสามัคคี) อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ภาคเรียนที่ 2
ปีการศึกษา 2554  มีประสิทธิภาพ  เท่ากับ 82.04/86.66  ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดคือ  80/80 แสดงว่าชุดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาการใช้กล้ามเนื้อเล็ก  ชั้นอนุบาลปีที่ 2  มีประสิทธิภาพเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้และเป็นไปตามสมมติฐานข้อที่ 1

2.       นักเรียนมีพัฒนาการการใช้กล้ามเนื้อเล็กสูงขึ้น โดยมีค่าคะแนนเฉลี่ย
หลังเรียนด้วยการใช้ชุดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาการใช้กล้ามเนื้อเล็กของเด็กอนุบาล
ชั้นปีที่ 2 สูงกว่าก่อนเรียน และแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งเป็นไปตาสมมติฐานข้อที่ 2


รายงานผลการพัฒนาชุดกิจกรรมสร้างสรรค์การประดิษฐ์เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาล ๒ โรงเรียนเทศบาล ๑ (เอ็งเสียงสามัคคี) สังกัดเทศบาลนครหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา


ชื่อเรื่อง                                  รายงานผลการพัฒนาชุดกิจกรรมสร้างสรรค์การประดิษฐ์เพื่อพัฒนา
                                                ความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาล ๒ โรงเรียนเทศบาล ๑
                                                (เอ็งเสียงสามัคคี) สังกัดเทศบาลนครหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่
                                                จังหวัดสงขลา
ผู้วิจัย                                      นางกิ่งนุสสรา  แก้วกระชูติ
ตำแหน่ง                                ครู วิทยฐานะครูชำนาญการ
ปีการศึกษา                            2554

บทคัดย่อ

                    รายงานผลการพัฒนาชุดกิจกรรมสร้างสรรค์การประดิษฐ์เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาล 2 โรงเรียนเทศบาล ๑ (เอ็งเสียงสามัคคี) สังกัดเทศบาลนครหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 เพื่อเปรียบเทียบพัฒนาการด้านความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นอนุบาล 2 ก่อนและหลังการใช้ชุดกิจกรรมสร้างสรรค์การประดิษฐ์เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ได้แก่เด็กปฐมวัยชั้นอนุบาล ๒  อายุระหว่าง  5-6 ปี โรงเรียนเทศบาล ๑ (เอ็งเสียงสามัคคี) สังกัดเทศบาลนครหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 จำนวน  1  ห้องเรียน ได้แก่ ห้องเรียนอนุบาล 2/1 จำนวน 30 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง
(Purposive  Sampling) (สิน  พันธุ์พินิจ 2547: 129)
                    ตัวแปรที่ศึกษา ตัวแปรต้น ได้แก่ การจัดประสบการณ์ชุดกิจกรรมสร้างสรรค์การประดิษฐ์เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาล 2  ตัวแปรตาม ได้แก่ ความคิดสร้างสรรค์ ใน 3 ด้าน ได้แก่ ความคิดริเริ่ม (Originality) ความคล่องตัว (Fluency)
และความคิดละเอียดลออ (Elaboration)
                    เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ชุดกิจกรรมด้านสร้างสรรค์ เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ชั้นอนุบาลปีที่ 2 แผนการจัดประสบการณ์โดยใช้ชุดกิจกรรมสร้างสรรค์การประดิษฐ์เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ จำนวน  15  กิจกรรม และแบบประเมินพัฒนาการด้านความคิดสร้างสรรค์ จำนวน 2 ข้อ  

  
                    ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
                                1. ชุดกิจกรรมสร้างสรรค์การประดิษฐ์เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาล 2 โรงเรียนเทศบาล ๑ (เอ็งเสียงสามัคคี) สังกัดเทศบาลนครหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 81.95/88.44 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด คือ 80/80 แสดงว่าชุดกิจกรรมสร้างสรรค์การประดิษฐ์ เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ ชั้นอนุบาลปีที่ 2 มีประสิทธิภาพเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้
                                2. การใช้ชุดกิจกรรมสร้างสรรค์การประดิษฐ์ เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ทั้ง 15 กิจกรรมทำให้ความคิดสร้างสรรค์ใน 3 ด้าน คือ ความคิดริเริ่ม (Originality) ความคล่องตัว (Fluency) และความคิดละเอียดลออ (Elaboration) มีค่าเฉลี่ย 2.33 1.96 และ 1.26 คะแนน ตามลำดับ แสดงให้เห็นว่าชุดกิจกรรมที่เด็กได้ทำช่วยส่งเสริมพัฒนาการความคิดสร้างสรรค์ของเด็ก
                                3. นักเรียนมีพัฒนาการด้านความคิดสร้างสรรค์สูงขึ้น โดยมีค่าเฉลี่ยหลังการจัดประสบการณ์ด้วยการใช้ชุดกิจกรรมสร้างสรรค์การประดิษฐ์เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาล 2   สูงกว่าก่อนการจัดประสบการณ์และแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .01

วันอังคารที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2556

รายงานผลการพัฒนาบทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง พืช กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์


ชื่อเรื่อง                        รายงานผลการพัฒนาบทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง พืช  กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
                                  ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4  โรงเรียนเทศบาล ๑ (เอ็งเสียงสามัคคี) 
                                  อำเภอหาดใหญ่  จังหวัดสงขลา 
ผู้วิจัย                           นางรัตนา  จันทร์ช่วยนา
ตำแหน่ง                    ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการ
ปีการศึกษา                2554


บทคัดย่อ
               
                รายงานผลการพัฒนาบทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง พืช  กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทศบาล ๑ (เอ็งเสียงสามัคคี) อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาบทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง พืช  กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4  ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์  80/80  เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน  และเพื่อศึกษาความพึงพอใจในการเรียนรู้ของนักเรียนต่อการใช้บทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง พืช
                กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาในครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4  โรงเรียนเทศบาล ๑ (เอ็งเสียงสามัคคี)  อำเภอหาดใหญ่  จังหวัดสงขลา  ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2554  จำนวน 1 ห้องเรียน ได้แก่ ห้อง ป.4/7  จำนวน 37 คน  ซึ่งได้มาโดยการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) (กัลยา  วานิชย์บัญชา, 2550 : 24)  ตัวแปรที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า ตัวแปรต้นได้แก่ การจัดการเรียนรู้โดยใช้บทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง พืช กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตัวแปรตาม ได้แก่ ประสิทธิภาพของ บทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง พืช กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง พืช และความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้บทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง พืช
                ระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ดำเนินการในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2554  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย  ได้แก่ บทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง พืช กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4  แผนการเรียนรู้โดยใช้บทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง พืช กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4  แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยบทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง พืช




การวิจัยสรุปผลได้ดังนี้
1.    ประสิทธิภาพของบทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง พืช กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีประสิทธิภาพ 82.02/85.49 ชึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด (80/80) และเป็นไปตามสมมุติฐานข้อที่ 1
2.    นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยบทเรียนสำเร็จรูป  เรื่อง พืชกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4โดยมีค่าคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนและแตกต่างกันมีนัยสำคัญสางสถิติที่ระดับ 0.01 ซึ่งเป็นไปตามสมมุติฐานข้อที่ 2
3.    นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 หลังการเรียนด้วยบทเรียนสำเร็จรูป  เรื่อง พืช กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก(ค่าเฉลี่ย = 4.30) และเมื่อพิจารณารายด้านและรายข้อ พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจในระดับมาก ถึง มากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 3.80 – 4.88 )