บทความที่ได้รับความนิยม

วันอังคารที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

รายงานการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์จากการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์แบบต่อเติม ผลงานของนักเรียนชั้นอนุบาล โรงเรียนเทศบาล ๑ (เอ็งเสียงสามัคคี) เทศบาล นครหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา


บทคัดย่อ

ชื่อเรื่อง              รายงานการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์จากการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์แบบต่อเติม
ผลงานของนักเรียนชั้นอนุบาล   โรงเรียนเทศบาล ๑ (เอ็งเสียงสามัคคี)  เทศบาล   นครหาดใหญ่  อำเภอหาดใหญ่  จังหวัดสงขลา

ชื่อผู้วิจัย            นางพนิดา    ยอดราช

การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อพัฒนากิจกรรมสร้างสรรค์แบบต่อเติมผลงานให้มี
ประสิทธิภาพตามเกณฑ์  เพื่อเปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนอนุบาลที่ได้รับการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์แบบต่อเติมผลงานกับกิจกรรมสร้างสรรค์แบบปกติ    เพื่อเปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนอนุบาลก่อนและหลังได้รับการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์แบบต่อเติมผลงาน  และเพื่อเปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนอนุบาลก่อนและหลังได้รับการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์แบบปกติ  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้  เป็นนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3/1   และนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3/2   ภาคเรียนที่ 1  ปีการศึกษา 2554   โรงเรียนเทศบาล ๑ (เอ็งเสียงสามัคคี) อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา จำนวน 2 ห้องเรียน  นักเรียนจำนวน  60 คน  ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง  (Purposive selection)  ประกอบด้วยกลุ่มทดลองได้รับการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์แบบต่อเติมผลงาน   จำนวน  30  คน  กลุ่มควบคุมได้รับการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์แบบปกติ  จำนวน  30  คน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ กิจกรรมสร้างสรรค์แบบต่อเติมผลงาน และแบบทดสอบวัดความคิดสร้างสรรค์ซึ่งประยุกต์มาจากแบบทดสอบความคิดสร้างสรรค์ของทอแรนซ์    แบบอาศัยรูปภาพเป็นสื่อ โดยได้กำหนดสิ่งเร้า ให้มีลักษณะคล้ายกัน มีจุดมุ่งหมายเดียวกัน แต่แตกต่างกันที่สิ่งเร้าที่กำหนด ลักษณะของแบบทดสอบ ประกอบด้วยกิจกรรม 3 กิจกรรม คือ กิจกรรมชุดที่ 1  การสร้างรูปภาพ โดยให้เด็กต่อเติมภาพจาก    สิ่งเร้าที่กำหนดให้ ซึ่งเป็นรูปทรงที่แตกต่างกัน   และวาดภาพต่อเติมโดยนึกถึงรูปภาพ ที่ไม่มีใครนึกถึงและตั้งชื่อภาพ จำนวน 10 ภาพ   กิจกรรมชุดที่  2  การต่อเติมรูปภาพ โดยให้เด็กต่อเติมภาพจากสิ่งเร้า      ที่กำหนดให้เป็นรูปเส้นในลักษณะต่างๆ  เป็นการต่อเติมภาพให้แปลกน่าสนใจ      เสร็จแล้วให้ตั้งชื่อและเล่าเรื่องในแต่ละภาพ จำนวน 10 ภาพ กิจกรรมชุดที่ 3 การต่อเติมรายละเอียดภาพ  โดยให้เด็กคิด   ต่อเติมรายละเอียดจากภาพที่กำหนดให้ เน้นการต่อเติมภาพให้แปลกแตกต่าง ไม่ซ้ำใคร แล้ว   ตั้งชื่อภาพที่ต่อเติมด้วย  การทำแบบทดสอบทั้ง 3 กิจกรรม   เน้นการวาดภาพให้แปลก    น่าตื่นเต้น น่าสนใจ    และแสดงความคิดเห็นของเด็ก  หรือแสดงเอกลักษณ์ของภาพ  กิจกรรมทั้ง 3 ชุด ใช้เวลาทำชุดละ  15 นาที   เมื่อหมดเวลากิจกรรมหนึ่ง ก็ต้องทำกิจกรรมชุดถัดไปทันที กิจกรรมทั้ง 3 ชุดใช้เวลา   45 นาที  แผนการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์แบบต่อเติมผลงาน  จำนวน  40  แผน  แผนการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์แบบปกติ  จำนวน  40  แผน  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที
            ผลการวิจัยพบว่า ค่าร้อยละที่ประเมินพฤติกรรมการเรียนรู้ด้านความคิดสร้างสรรค์ ทั้ง 3 ด้านรวมกันระหว่างดำเนินกิจกรรมในแต่ละหน่วยโดยเฉลี่ยได้เท่ากับ 88.88 และค่าร้อยละ        ที่นักเรียนมีความคิดสร้างสรรค์ทั้ง 3 ด้านรวมกันของคะแนนที่นักเรียนทำได้จากแบบทดสอบวัดความคิดสร้างสรรค์ เท่ากับ 85.11      ซึ่งนำมาแทนค่าตามสูตรการหาประสิทธิภาพของกระบวนการ E ประสิทธิภาพของผลลัพธ์ E แล้วทำการเปรียบเทียบระหว่าง E กับ  Eได้เท่ากับ 88.88 / 85.11 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้คือ ไม่ต่ำกว่า 80 / 80  จากการเปรียบเทียบนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์แบบต่อเติมผลงานมีความคิดสร้างสรรค์สูงกว่าแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01  นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์แบบต่อเติมผลงานมีความคิดสร้างสรรค์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01   และนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์แบบปกติมีความคิดสร้างสรรค์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01  แสดงว่า นักเรียนมีผลการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ในระดับที่สูงขึ้น      และแผนการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์แบบต่อเติมผลงานที่สร้างขึ้นสามารถพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ให้เกิดขึ้นกับเด็กได้ครบถ้วนกระบวนการ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น