บทความที่ได้รับความนิยม

วันพุธที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2555

พัฒนาการใช้บทเรียนสำเร็จรูปเรื่องคนดีในสังคมประชาธิปไตยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาล ๑ (เอ็งเสียงสามัคคี) อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

ชื่อเรื่อง                  พัฒนาการใช้บทเรียนสำเร็จรูปเรื่องคนดีในสังคมประชาธิปไตย
                                ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาล ๑ (เอ็งเสียงสามัคคี)
                                อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ผู้ศึกษา                   ปรีดา ช่วยสุข
สังกัด                     โรงเรียนเทศบาล ๑ (เอ็งเสียงสามัคคี) อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ปี                             2555
                                                                        บทคัดย่อ

                        การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาประสิทธิภาพของบทเรียนสำเร็จรูปเรื่องคนดีในสังคมประชาธิปไตย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการเรียนและประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยบทเรียนสำเร็จรูปกลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  โรงเรียนเทศบาล ๑ (เอ็งเสียงสามัคคี) อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา มีจำนวน 36 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง(Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ บทเรียนสำเร็จรูป จำนวน  เล่ม  แผนการจัดการเรียนรู้จำนวน 12  ชั่วโมง แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชนิดเลือกตอบ  ตัวเลือก จำนวน  30 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่น 0.89 และแบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการคำนวณหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังโดยใช้สถิติ t-test (Dependent samples)
                        สรุปผลการศึกษา
                        1. บทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง คนดีในสังคมประชาธิปไตย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา           ปีที่ 3 กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม มีประสิทธิภาพในระดับมาก โดยมีประสิทธิภาพ 86.98/ 82.77 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนด้วยบทเรียนสำเร็จรูปเรื่อง คนดีในสังคมประชาธิปไตย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3   สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .001
3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนบทเรียนสำเร็จรูปเรื่อง คนดีในสังคมประชาธิปไตย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม            ในระดับมาก

วันอังคารที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

รายงานผลการใช้แผนการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการที่เสริมด้วย คำคล้องจองเพื่อพัฒนาทักษะด้านการอ่านของนักเรียนชั้นอนุบาล 2


ชื่อเรื่อง               รายงานผลการใช้แผนการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการที่เสริมด้วย
                                คำคล้องจองเพื่อพัฒนาทักษะด้านการอ่านของนักเรียนชั้นอนุบาล  2
                                 โรงเรียนเทศบาล เทศบาล  ๔ (บ้านกำปงตาโก๊ะ)
ผู้ศึกษา                   นางดารัตน์  ทองอินทราช
ปีที่รายงาน            พ.ศ. 2555


บทคัดย่อ


             การศึกษาครั้งนี้มีจุดประสงค์ เพื่อพัฒนาแผนการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการที่เสริมด้วยคำคล้องจอง เพื่อพัฒนาทักษะด้านการอ่าน  และเพื่อพัฒนาทักษะด้านการอ่านโดยใช้แผนการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการที่เสริมด้วยคำคล้องจองโดยมีนักเรียนจำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 มีคะแนนทักษะด้านการอ่านตั้งแต่ร้อยละ 75 ขึ้นไป  กลุ่มเป้าหมายคือ  นักเรียนชั้นอนุบาล 2
 ภาคเรียนที่ 1  ปีการศึกษา  2555 ของโรงเรียนเทศบาล  ๔ (บ้านกำปงตาโก๊ะ)  เทศบาลเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส โดยการเลือกแบบเจาะจง  (Purposive Sampling)  จากนักเรียนชั้นอนุบาล 2     จำนวน 1  ห้องเรียน  มี  36  คน ใช้เวลาในการทดลอง 15  ครั้ง ครั้งละ 30  นาที เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แผนการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการที่เสริมด้วยคำคล้องจอง เพื่อพัฒนาทักษะด้านการอ่านของนักเรียนชั้นอนุบาล 2 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติหาคุณภาพของเครื่องมือ

ผลการศึกษาพบว่า
            1.  ประสิทธิภาพของแผนการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการที่เสริมด้วยคำคล้องจอง เพื่อพัฒนาทักษะด้านการอ่านของนักเรียนชั้นอนุบาล 2 อยู่ในระดับ ดีมาก
            2.  นักเรียนชั้นอนุบาล 2  ที่เรียนด้วยแผนการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการที่เสริมด้วย
คำคล้องจอง มีการพัฒนาทักษะด้านการอ่านสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ทุกคน


วันอังคารที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

รายงานการพัฒนาความสามารถทางคณิตศาสตร์และความคงทนในการเรียนรู้โดยใช้นิทานเชิงคณิตศาสตร์ของเด็กอนุบาล 3 โรงเรียนเทศบาล ๑ (เอ็งเสียงสามัคคี) อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

ชื่อเรื่อง               รายงานการพัฒนาความสามารถทางคณิตศาสตร์และความคงทนในการเรียนรู้
                              โดยใช้นิทานเชิงคณิตศาสตร์ของเด็กอนุบาล 3 โรงเรียนเทศบาล ๑ (เอ็งเสียงสามัคคี)
                              อำเภอหาดใหญ่  จังหวัดสงขลา
ผู้รายงาน             นางสุนันทา  ธรรมโชติ        ครูชำนาญการโรงเรียนเทศบาล ๑ (เอ็งเสียงสามัคคี)
                              อำเภอหาดใหญ่  จังหวัดสงขลา

บทคัดย่อ

                        รายงานการพัฒนาความสามารถทางคณิตศาสตร์และความคงทนในการเรียนรู้โดยใช้นิทานเชิงคณิตศาสตร์ของเด็กอนุบาล 3 โรงเรียนเทศบาล ๑ (เอ็งเสียงสามัคคี) อำเภอหาดใหญ่  จังหวัดสงขลา ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) หาประสิทธิภาพของนิทานเชิงคณิตศาสตร์ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2) เปรียบเทียบความสามารถทางคณิตศาสตร์ระหว่างกลุ่มที่ได้รับการจัดประสบการณ์โดยใช้นิทานเชิงคณิตศาสตร์กับกลุ่มที่ได้รับการจัดประสบการณ์แบบปกติของเด็กอนุบาล 3 3) เปรียบเทียบความสามารถทางคณิตศาสตร์ก่อนและหลังการจัดประสบการณ์โดยใช้นิทานเชิงคณิตศาสตร์ของเด็กอนุบาล 3  4) เปรียบเทียบความสามารถทางคณิตศาสตร์ก่อนและหลังการจัดประสบการณ์แบบปกติของเด็กอนุบาล 3 และ 5) เพื่อเปรียบเทียบความคงทนในการเรียนรู้ระหว่างการได้รับการจัดประสบการณ์โดยใช้นิทานเชิงคณิตศาสตร์กับการได้รับการจัดประสบการณ์แบบปกติ ของเด็กอนุบาล 3 หลังการจัดประสบการณ์ล่วงไปแล้ว 4 สัปดาห์  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ เด็กอนุบาลอายุระหว่าง 5-6 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2554 ของโรงเรียนเทศบาล ๑ (เอ็งเสียงสามัคคี) อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา จำนวน 2 ห้องเรียน รวม 62 คน ซึ่งได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบสองขั้นตอน (Two-Stage Random Sampling)
                        เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย 1) นิทานเชิงคณิตศาสตร์ ซึ่งได้ผ่านการตรวจสอบคุณภาพจากผู้เชี่ยวชาญแล้ว จำนวน 30 เรื่อง 2) แผนการจัดประสบการณ์โดยใช้นิทานเชิง-คณิตศาสตร์ จำนวน 35 แผน 3) แผนการจัดประสบการณ์แบบปกติ จำนวน 35 แผน และ 4) แบบวัดความสามารถทางคณิตศาสตร์ จำนวน 19 ข้อ ซึ่งมีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง .39 ถึง .74 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.83 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบค่าที (t - test)
                        ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

                        1. นิทานเชิงคณิตศาสตร์มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ 88.97/81.23
                        2. เด็กอนุบาล 3 ที่ได้รับการจัดประสบการณ์โดยใช้นิทานเชิงคณิตศาสตร์มีความสามารถทางคณิตศาสตร์สูงกว่าเด็กอนุบาล 3 ที่ได้รับการจัดประสบการณ์แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001
                        3. เด็กอนุบาล 3/3 โรงเรียนเทศบาล ๑ (เอ็งเสียงสามัคคี) อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา หลังได้รับการจัดประสบการณ์โดยใช้นิทานเชิงคณิตศาสตร์มีความสามารถทางคณิตศาสตร์สูงกว่าก่อนได้รับการจัดประสบการณ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001
                        4. เด็กอนุบาล 3/1 โรงเรียนเทศบาล ๑ (เอ็งเสียงสามัคคี) อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา หลังได้รับการจัดประสบการณ์แบบปกติมีความสามารถทางคณิตศาสตร์สูงกว่าก่อนได้รับการจัดประสบการณ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001
                5. เด็กอนุบาล 3 ที่ได้รับการจัดประสบการณ์โดยใช้นิทานเชิงคณิตศาสตร์ หลังการจัดประสบการณ์ล่วงไปแล้ว 4 สัปดาห์ มีความคงทนในการเรียนรู้สูงกว่าเด็กอนุบาล 3 ที่ได้รับการจัดประสบการณ์แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

รายงานการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์จากการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์แบบต่อเติม ผลงานของนักเรียนชั้นอนุบาล โรงเรียนเทศบาล ๑ (เอ็งเสียงสามัคคี) เทศบาล นครหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา


บทคัดย่อ

ชื่อเรื่อง              รายงานการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์จากการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์แบบต่อเติม
ผลงานของนักเรียนชั้นอนุบาล   โรงเรียนเทศบาล ๑ (เอ็งเสียงสามัคคี)  เทศบาล   นครหาดใหญ่  อำเภอหาดใหญ่  จังหวัดสงขลา

ชื่อผู้วิจัย            นางพนิดา    ยอดราช

การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อพัฒนากิจกรรมสร้างสรรค์แบบต่อเติมผลงานให้มี
ประสิทธิภาพตามเกณฑ์  เพื่อเปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนอนุบาลที่ได้รับการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์แบบต่อเติมผลงานกับกิจกรรมสร้างสรรค์แบบปกติ    เพื่อเปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนอนุบาลก่อนและหลังได้รับการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์แบบต่อเติมผลงาน  และเพื่อเปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนอนุบาลก่อนและหลังได้รับการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์แบบปกติ  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้  เป็นนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3/1   และนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3/2   ภาคเรียนที่ 1  ปีการศึกษา 2554   โรงเรียนเทศบาล ๑ (เอ็งเสียงสามัคคี) อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา จำนวน 2 ห้องเรียน  นักเรียนจำนวน  60 คน  ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง  (Purposive selection)  ประกอบด้วยกลุ่มทดลองได้รับการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์แบบต่อเติมผลงาน   จำนวน  30  คน  กลุ่มควบคุมได้รับการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์แบบปกติ  จำนวน  30  คน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ กิจกรรมสร้างสรรค์แบบต่อเติมผลงาน และแบบทดสอบวัดความคิดสร้างสรรค์ซึ่งประยุกต์มาจากแบบทดสอบความคิดสร้างสรรค์ของทอแรนซ์    แบบอาศัยรูปภาพเป็นสื่อ โดยได้กำหนดสิ่งเร้า ให้มีลักษณะคล้ายกัน มีจุดมุ่งหมายเดียวกัน แต่แตกต่างกันที่สิ่งเร้าที่กำหนด ลักษณะของแบบทดสอบ ประกอบด้วยกิจกรรม 3 กิจกรรม คือ กิจกรรมชุดที่ 1  การสร้างรูปภาพ โดยให้เด็กต่อเติมภาพจาก    สิ่งเร้าที่กำหนดให้ ซึ่งเป็นรูปทรงที่แตกต่างกัน   และวาดภาพต่อเติมโดยนึกถึงรูปภาพ ที่ไม่มีใครนึกถึงและตั้งชื่อภาพ จำนวน 10 ภาพ   กิจกรรมชุดที่  2  การต่อเติมรูปภาพ โดยให้เด็กต่อเติมภาพจากสิ่งเร้า      ที่กำหนดให้เป็นรูปเส้นในลักษณะต่างๆ  เป็นการต่อเติมภาพให้แปลกน่าสนใจ      เสร็จแล้วให้ตั้งชื่อและเล่าเรื่องในแต่ละภาพ จำนวน 10 ภาพ กิจกรรมชุดที่ 3 การต่อเติมรายละเอียดภาพ  โดยให้เด็กคิด   ต่อเติมรายละเอียดจากภาพที่กำหนดให้ เน้นการต่อเติมภาพให้แปลกแตกต่าง ไม่ซ้ำใคร แล้ว   ตั้งชื่อภาพที่ต่อเติมด้วย  การทำแบบทดสอบทั้ง 3 กิจกรรม   เน้นการวาดภาพให้แปลก    น่าตื่นเต้น น่าสนใจ    และแสดงความคิดเห็นของเด็ก  หรือแสดงเอกลักษณ์ของภาพ  กิจกรรมทั้ง 3 ชุด ใช้เวลาทำชุดละ  15 นาที   เมื่อหมดเวลากิจกรรมหนึ่ง ก็ต้องทำกิจกรรมชุดถัดไปทันที กิจกรรมทั้ง 3 ชุดใช้เวลา   45 นาที  แผนการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์แบบต่อเติมผลงาน  จำนวน  40  แผน  แผนการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์แบบปกติ  จำนวน  40  แผน  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที
            ผลการวิจัยพบว่า ค่าร้อยละที่ประเมินพฤติกรรมการเรียนรู้ด้านความคิดสร้างสรรค์ ทั้ง 3 ด้านรวมกันระหว่างดำเนินกิจกรรมในแต่ละหน่วยโดยเฉลี่ยได้เท่ากับ 88.88 และค่าร้อยละ        ที่นักเรียนมีความคิดสร้างสรรค์ทั้ง 3 ด้านรวมกันของคะแนนที่นักเรียนทำได้จากแบบทดสอบวัดความคิดสร้างสรรค์ เท่ากับ 85.11      ซึ่งนำมาแทนค่าตามสูตรการหาประสิทธิภาพของกระบวนการ E ประสิทธิภาพของผลลัพธ์ E แล้วทำการเปรียบเทียบระหว่าง E กับ  Eได้เท่ากับ 88.88 / 85.11 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้คือ ไม่ต่ำกว่า 80 / 80  จากการเปรียบเทียบนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์แบบต่อเติมผลงานมีความคิดสร้างสรรค์สูงกว่าแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01  นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์แบบต่อเติมผลงานมีความคิดสร้างสรรค์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01   และนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์แบบปกติมีความคิดสร้างสรรค์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01  แสดงว่า นักเรียนมีผลการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ในระดับที่สูงขึ้น      และแผนการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์แบบต่อเติมผลงานที่สร้างขึ้นสามารถพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ให้เกิดขึ้นกับเด็กได้ครบถ้วนกระบวนการ

วันพฤหัสบดีที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

บทคัดย่อ รายงานการศึกษาเรื่อง การใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ)

บทคัดย่อ

รายงานการศึกษาครั้งนี้  มีวัตถุประสงค์  เพื่อการพัฒนาชุดการสอนสื่อประสม  เรื่อง  การใช้ภาษาอังกฤษ  เพื่อการสื่อสาร  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  6  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษหลัก)  และเพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  6  โดยใช้ชุดการสอนสื่อประสม  เรื่อง การใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร  และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  6  ที่มีต่อการใช้ชุดการสอนสื่อประสม  เรื่อง  การใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  6  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ)  จากผู้เรียนที่มีคะแนนหลังเรียนผ่านเกณฑ์ร้อยละ  80  ของคะแนนเต็ม  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลองได้แก่นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่  6  ภาคเรียนที่  2  ปีการศึกษา  2554  โรงเรียนเทศบาล ๑ (เอ็งเสียงสามัคคี)  เทศบาลนครหาดใหญ่  อำเภอหาดใหญ่  จังหวัดสงขลา  สำนักการศึกษาเทศบาลนครหาดใหญ่  ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน  เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วยแบบประเมินคุณภาพบทเรียนชุดการสอนสื่อประสม  เรื่อง  การใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร  และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  6  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ)
ผลการวิจัยสรุปได้ว่า  ในด้านพัฒนาชุดการสอนสื่อประสม เรื่อง  การใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ)  พบว่า  คุณภาพของบทเรียนชุดการสอนสื่อประสม  จากการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหาอยู่ในระดับดีมากและผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อเทคโนโลยีการศึกษาอยู่ในระดับดี  และบทเรียนมีประสิทธิภาพ  83.58/86.45  ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้  ในด้านการทดลองเพื่อศึกษาผลการใช้บทเรียนชุดการสอนสื่อประสม  พบว่าผู้เรียนที่ศึกษาจากบทเรียนชุดการสอนสื่อประสม เรื่อง การใช้ภาษาอังกฤษ  เพื่อการสื่อสาร  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ)  และเพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  6  ที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80  ของคะแนนเต็ม  มีจำนวนร้อยละ 86.45  ของผู้เรียนทั้งหมด