บทความที่ได้รับความนิยม

วันเสาร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

รายงานการใช้หนังสือภาษาไทยในเสียงเพลงกับ 5 W 1 H ในการอ่านจับใจความ

ชื่อผลงาน             รายงานการใช้หนังสือภาษาไทยในเสียงเพลงกับ 5 W 1 H ในการอ่านจับใจความ                   

                          ภาษาไทยสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทศบาล ๑ 

(เอ็งเสียงสามัคคี)

ผู้รายงาน              นางพิกุล  จตุรงค์

ปีการศึกษา           2551



บทคัดย่อ



การศึกษาครั้งนี้มี วัตถุประสงค์เพื่อสร้างและพัฒนาประสิทธิภาพหนังสือภาษาไทย           

ในเสียงเพลงกับ 5 W 1 H ในการอ่านจับใจความภาษาไทยให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการอ่านจับใจความภาษาไทยโดยใช้หนังสือภาษาไทย ในเสียงเพลงกับ 5 W 1 H  ก่อนเรียนและหลังเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4  โรงเรียนเทศบาล ๑ (เอ็งเสียงสามัคคี) และศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้หนังสือภาษาไทยในเสียงเพลงกับ 5 W 1 H    กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการรายงานการใช้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  4/5 ภาคเรียนที่ 2  ปีการศึกษา 2551  จำนวน 37  คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive  Sampling) เครื่องมือที่ใช้  ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้หนังสือภาษาไทยในเสียงเพลงกับ 5 W 1 H  จำนวน 10 แผน แบบทดสอบวัดการอ่านจับใจความภาษาไทย  หนังสือภาษาไทยในเสียงเพลงพร้อมซีดีและวีซีดี  แบบสอบถามประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้หนังสือภาษาไทยในเสียงเพลงกับ 5 W 1 H  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ค่าร้อยละ  ค่าเฉลี่ย ( )  ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบค่าที (t - test)

ผลของการรายงานการใช้พบว่า

                    1.  การพัฒนาประสิทธิภาพหนังสือภาษาไทยในเสียงเพลงกับ 5 W 1 H ในการอ่านจับใจความภาษาไทยให้มีประสิทธิภาพ (E1/E2)  ตามเกณฑ์ที่กำหนด  80/80 โดยมีประสิทธิภาพเท่ากับ  86.52 /85.03

                    2.  การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในการอ่านจับใจความภาษาไทย   

โดยการใช้หนังสือภาษาไทยในเสียงเพลงกับ 5 W 1 H  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทศบาล ๑  (เอ็งเสียงสามัคคี) อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา พบว่า ผลสัมฤทธิ์หลังเรียน             สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 
                3.  นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทศบาล ๑ (เอ็งเสียงสามัคคี) อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา มีความพึงพอใจต่อการใช้หนังสือภาษาไทยในเสียงเพลงกับ 5 W 1 H  อยู่ในระดับมาก ( = 4.35)

วันศุกร์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ศึกษาสภาพการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมนักเรียนของผู้บริหารและครูโรงเรียนเทศบาล ๑ (เอ็งเสียงสามัคคี)

ชื่อผลงาน               ศึกษาสภาพการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมนักเรียนของผู้บริหารและครูโรงเรียนเทศบาล  ๑  (เอ็งเสียงสามัคคี)
                                   สังกัดเทศบาลนครหาดใหญ่   จังหวัดสงขลา
ผู้ศึกษา                     นายสมชาย  แก้วมณี รองผู้อำนวยการสถานศึกษา 
หน่วยงาน               โรงเรียนเทศบาล ๑ (เอ็งเสียงสามัคคี)  สำนักการศึกษา เทศบาลนครหาดใหญ่
                              จังหวัดสงขลา
ปีพุทธศักราช          2551
บทคัดย่อ

                    การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมนักเรียนของผู้บริหารและครูโรงเรียนเทศบาล  ๑  (เอ็งเสียงสามัคคี) สังกัดเทศบาลนครหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา  ในด้านความใฝ่รู้   ความขยัน   ความอดทน   ความประหยัด                       ความซื่อสัตย์สุจริต   ความมีระเบียบวินัย   ความเสียสละ   ความเมตตากรุณา   ความกตัญญูกตเวที   การตรงต่อเวลา   ความสามัคคี   ความยุติธรรม  และความเป็นผู้มีวัฒนธรรมและปฏิบัติตามขนบธรรมเนียมประเพณี ทั้ง 13  ด้าน และเปรียบเทียบการปฏิบัติงานของผู้บริหารและครูโรงเรียนเทศบาล  ๑  (เอ็งเสียงสามัคคี) เกี่ยวกับการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมนักเรียนของโรงเรียน เทศบาล  ๑  (เอ็งเสียงสามัคคี) สังกัดเทศบาลนครหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่  จังหวัดสงขลา               จำแนกตามสถานภาพของผู้บริหารและครูโรงเรียนเทศบาล  ๑  (เอ็งเสียงสามัคคี)  ตามตัวแปรอายุและประสบการณ์ทำงาน  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเป็นผู้บริหารและครูโรงเรียนเทศบาล  ๑                (เอ็งเสียงสามัคคี)  จำนวน  89  คน  เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การหาความถี่ (Frequency) หาค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย  (Mean)  ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และ     การทดสอบค่าที  (t- test)  
                ผลการวิจัยพบว่า
                1.  ผลการปฏิบัติงานของผู้บริหารและครูโรงเรียนเทศบาล ๑ (เอ็งเสียงสามัคคี)                     อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา  ในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก
             2.  ผลการเปรียบเทียบการปฏิบัติงานของผู้บริหารและครูโรงเรียนเทศบาล ๑                            (เอ็งเสียงสามัคคี) อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา จำแนกตามตัวแปร อายุและประสบการณ์ทำงาน สรุปได้ดังนี้
                      2.1  ผู้บริหารและครู มีการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมนักเรียนในภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน
                      2.2  ผู้บริหารและครูที่มีอายุต่างกันมีการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม ในภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน
                      2.3  ผู้บริหารและครูที่มีประสบการณ์ทำงานต่างกัน ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม ในภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน

การประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนเทศบาล ๕ (วัดหาดใหญ่)

ชื่อผลงาน               การประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
                             โรงเรียนเทศบาล  ๕ (วัดหาดใหญ่)
                                   สังกัดเทศบาลนครหาดใหญ่   จังหวัดสงขลา
ผู้ศึกษา                     นายสุเทพ  ปะลาวัน ผู้อำนวยการสถานศึกษา 
หน่วยงาน               โรงเรียนเทศบาล ๕ (วัดหาดใหญ่)  สำนักการศึกษา เทศบาลนครหาดใหญ่
                              จังหวัดสงขลา
ปีพุทธศักราช          2554


บทคัดย่อ

                                   การประเมินครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนเทศบาล  ๕ (วัดหาดใหญ่)  เทศบาลนครหาดใหญ่   จังหวัดสงขลา โดยใช้รูปแบบซิปป์ (CIPP Model) ของ Stufflebeam  คือ  1) เพื่อประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนเทศบาล  ๕ (วัดหาดใหญ่)  เทศบาลนครหาดใหญ่   จังหวัดสงขลาใน 4  ด้าน คือ ด้านบริบท ด้านปัจจัย ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต   2) เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรคที่มีต่อโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนเทศบาล  ๕ (วัดหาดใหญ่)  เทศบาลนครหาดใหญ่   จังหวัดสงขลา  3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนเทศบาล  ๕ (วัดหาดใหญ่)  เทศบาลนครหาดใหญ่   จังหวัดสงขลา  4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนเทศบาล  ๕
 (วัดหาดใหญ่)  เทศบาลนครหาดใหญ่   จังหวัดสงขลา กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างใช้ตารางสำเร็จรูปของ Krejcie and  Morgan ที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ผู้บริหาร 3 คน ครู 40 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 6 จำนวน  245 คน และผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 6 จำนวน 245 คน รวมทั้งสิ้น 551 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน ประกอบด้วย แบบสอบถาม จำนวน 3 ชุด เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการตอบแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป SPSS for Windows สรุปผลการประเมิน และข้อเสนอแนะได้ดังต่อไปนี้



                   
                    ผลการประเมินพบว่า
                    1.  การประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนเทศบาล  ๕ (วัดหาดใหญ่)  เทศบาลนครหาดใหญ่   จังหวัดสงขลา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก   เรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย คือ ด้านบริบท   ด้านปัจจัย ด้านกระบวนการ และ ด้านผลผลิต ตามลำดับ
                    2. ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะในการดำเนินงานโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนเทศบาล  ๕ (วัดหาดใหญ่)  เทศบาลนครหาดใหญ่   จังหวัดสงขลา พบว่าในภาพรวมมีปัญหาอยู่ในระดับ น้อย
                    3. ความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนเทศบาล  ๕ (วัดหาดใหญ่)  เทศบาลนครหาดใหญ่   จังหวัดสงขลา พบว่า ในภาพรวมมีความพึงพอใจระดับมาก
                    4. ความพึงพอใจของที่มีต่อโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนเทศบาล  ๕ (วัดหาดใหญ่)  เทศบาลนครหาดใหญ่   จังหวัดสงขลา พบว่า ในภาพรวมมีความพึงพอใจระดับมาก

วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะ การใช้โปรแกรมนำเสนอของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

ชื่อเรื่อง    การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะ  
เรื่อง  การใช้โปรแกรมนำเสนอ     ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  3

ผู้วิจัย        นายมนิต  นิลโมจน์

ปีที่วิจัย        พ.ศ.  2553

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1)  เพื่อพัฒนาความรู้ ความสามารถการใช้คอมพิวเตอร์ในการนำเสนอ  กลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี  วิธีดำเนินการวิจัยในครั้งนี้  กลุ่มเป้าหมายของ    การวิจัยได้แก่  นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  3  โรงเรียนเทศบาล ๑ (เอ็งเสียงสามัคคี)    ปีการศึกษา  2553  จำนวน  8  คน  ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง    เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย  ได้แก่ แบบฝึกทักษะ  เรื่อง      การใช้โปรแกรมนำเสนอ  แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลังเรียน  สถิติที่ใช้ในการวิจัย  ได้แก่           ค่าร้อยละ  ค่าเฉลี่ย
    ผลการวิจัย  สรุปได้ดังนี้
      นักเรียนมีค่าเฉลี่ยการใช้คอมพิวเตอร์ในการนำเสนอหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน  ร้อยละ  82.50 

รายงานการพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-book)

 รายงานการพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-book)
กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานบ้าน)
สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  5
ชุด  งานบ้านน่ารู้

นางวราภรณ์  ถูกต้อง
ตำแหน่ง ครู   วิทยฐานะครูชำนาญการ

โรงเรียนเทศบาล ๑ (เอ็งเสียงสามัคคี)
สำนักการศึกษา  เทศบาลนครหาดใหญ่
อำเภอหาดใหญ่  จังหวัดสงขลา

บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-book) กลุ่มสาระ การเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานบ้าน) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ชุดงานบ้านน่ารู้ ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-book) กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานบ้าน) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ชุดงานบ้านน่ารู้
ที่เรียนโดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/3 โรงเรียนเทศบาล 1 (เอ็งเสียงสามัคคี) สำนักการศึกษา เทศบาลนครหาดใหญ่ ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1
ปีการศึกษา 2552 ซึ่งได้มาโดยใช้วิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม จากห้องเรียนที่จัดผู้เรียนแบบคละความสามารถกัน ซึ่งมีจำนวน 8 ห้องเรียน
จับฉลากเลือกมา 1 ห้องเรียน ได้ห้องเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/3 จำนวนนักเรียน 38 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-book) กลุ่มสาระการเรียนรู้
การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานบ้าน) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ชุดงานบ้านน่ารู้ จำนวน 4 เรื่อง แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 40 ข้อ และแบบสอบถาม
ความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนโดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-book) จำนวน 20 ข้อ
ผลการศึกษาพบว่า ประสิทธิภาพของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-book) กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานบ้าน) ชุดงานบ้านน่ารู้ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 87.04/86.18 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานที่ตั้งไว้ 80/80
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน ( =34.47) สูงกว่าก่อนเรียน (=17.66) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
ที่ระดับ .01 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนโดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-book) กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานบ้าน) ชุดงานบ้านน่ารู้ มีความพึงพอใจอยู่ในระดับ
มากที่สุด ( = 4.52)

วันพุธที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2554

การประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของโรงเรียนเทศบาล ๑ (เอ็งเสียงสามัคคี) เทศบาลนครหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

ชื่อเรื่อง    การประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของโรงเรียนเทศบาล ๑ (เอ็งเสียงสามัคคี)  เทศบาลนครหาดใหญ่   จังหวัดสงขลา

ผู้ศึกษา    นายพัฒน์   ตันสกุล

หน่วยงาน    โรงเรียนเทศบาล ๑ (เอ็งเสียงสามัคคี)  สำนักการศึกษาเทศบาลนครหาดใหญ่  จังหวัดสงขลา

ปีที่พิมพ์    2553

บทคัดย่อ

        การประเมินครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ของการศึกษาเพื่อประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของโรงเรียนเทศบาล ๑ (เอ็งเสียงสามัคคี)  เทศบาลนครหาดใหญ่  จังหวัดสงขลา  โดยใช้รูปแบบจำลองซิป (CIPP  Model)  ใน  2  ประเด็น  คือ  1)  เพื่อประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของโรงเรียนเทศบาล ๑ (เอ็งเสียงสามัคคี)  เทศบาลนครหาดใหญ่  จังหวัดสงขลา  2)  เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล ๑ (เอ็งเสียงสามัคคี)  จังหวัดสงขลา  เมื่อเริ่มต้นโครงการและสิ้นสุดโครงการ  ประชากรและกลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้  ได้แก่  คณะครู  จำนวน  90  คน  ผู้ปกครองนักเรียนจำนวน  274  คน  และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  4  -  ชั้นประถมศึกษาปีที่  6  จำนวน  274  คน  รวมทั้งสิ้น  638  คน  เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลมี  3  ประเภท  ได้แก่  1)  แบบสอบถามความคิดเห็นของครูที่มีต่อโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ  2)  แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของโรงเรียนเทศบาล ๑ (เอ็งเสียงสามัคคี)  3)  แบบประเมินผลการปฏิบัติตนในการรักษาสุขภาพของนักเรียน  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล  ได้แก่  ร้อยละ  ค่าเฉลี่ย  และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
        ผลการศึกษา  พบว่า
    1.    ก่อนดำเนินการโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของโรงเรียนเทศบาล ๑  (เอ็งเสียงสามัคคี)  เทศบาลนครหาดใหญ่  จังหวัดสงขลา  โรงเรียนและชุมชนต่างมีจุดมุ่งหมายให้นักเรียนมีสุขภาพที่ดีทั้งทางร่างกาย  อารมณ์จิตใจ  และสังคม  ซึ่งจะทำให้นักเรียนมีสติปัญญาที่เฉลียวฉลาดและมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น  จึงได้จัดทำโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล ๑ (เอ็งเสียงสามัคคี)  ผู้ศึกษาได้พัฒนาครูให้มีความรู้  ความเข้าใจ  และทักษะการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพ  และกำหนดกิจกรรมการส่งเสริมสุขภาพตามโครงการ  9  กิจกรรม  ซึ่งมีครูผู้รับผิดชอบทุกกิจกรรม  โดยเริ่มโครงการระหว่างปีการศึกษา  2550-2551
    2.    จากการประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของโรงเรียนเทศบาล ๑ (เอ็งเสียงสามัคคี)  เทศบาลนครหาดใหญ่  จังหวัดสงขลา  โดยใช้รูปแบบจำลองแบบซิป (CIPP  Model)  ตามแนวคิดของ  สตัฟเฟิล  บีม (Stufflebeam)  ซึ่งมีกรอบการประเมิน  4  ด้าน  คือ  ด้านสภาวะแวดล้อม  ด้านปัจจัยนำเข้า  ด้านกระบวนการ  และด้านผลผลิต  โดยใช้เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล  ได้แก่  แบบสอบถามความคิดเห็นของครูต่อโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ  ปรากฏผล  คือ  โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากทุกด้าน  แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ปกครองต่อการส่งเสริมสุขภาพของนักเรียน  ปรากฏว่า  โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก  และแบบประเมินการปฏิบัติตนในการรักษาสุขภาพของนักเรียน  ปรากฏว่า  โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
    3.    ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล ๑ (เอ็งเสียงสามัคคี)   เทศบาลนครหาดใหญ่  จังหวัดสงขลา  เมื่อเริ่มต้นโครงการและสิ้นสุดโครงการ  ปีการศึกษา  2550  - ปีการศึกษา  2551  แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  .05  โดยเมื่อสิ้นสุดโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพแล้ว  นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นกว่าเมื่อเริ่มต้นโครงการ